ช่างเทคนิคด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของลิฟต์ที่มีงานยุ่งสามารถประหยัดเวลาได้ด้วยเครื่องวิเคราะห์มอเตอร์ไดรฟ์รุ่นใหม่จาก Fluke | Fluke
ภาษาไทย

ช่างเทคนิคด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของลิฟต์ที่มีงานยุ่งสามารถประหยัดเวลาได้ด้วยเครื่องวิเคราะห์มอเตอร์ไดรฟ์รุ่นใหม่จาก Fluke

มอเตอร์, ไดรฟ์, ปั๊ม, คอมเพรสเซอร์

ชื่อ: ช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ผลิตลิฟต์รายสำคัญ

เครื่องมือ: เครื่องวิเคราะห์มอเตอร์ไดรฟ์ Fluke MDA-550

ปัญหา: การตั้งค่าอย่างรวดเร็วและการแก้ไขปัญหาไดรฟ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนความเร็วได้ด้วยออสซิโลสโคป

วิธีแก้ปัญหา: เครื่องวิเคราะห์มอเตอร์ไดรฟ์ Fluke MDA-550 มีแผนภาพการตั้งค่าอย่างเหมาะสมที่ชัดเจน กระบวนการทดสอบที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และคำแนะนำทีละขั้นตอนที่ช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมอเตอร์ไดรฟ์ของลิฟต์

บริษัทผู้ผลิตลิฟต์รายสำคัญแห่งหนึ่งของโลกต้องบำรุงรักษาลิฟต์กว่า 5,000 แห่งทั่วเยอรมันตะวันตก โดยลิฟต์เหล่านี้ได้รับการติดตั้งภายในอาคารเพื่อการพาณิชย์และธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตึกสำนักงาน โรงพยาบาล โรงเรียน และอาคารอพาร์ตเมนต์สูง พนักงานและผู้อยู่อาศัยต่างต้องพึ่งพาลิฟต์ทุกๆ วัน เวลาหยุดทำงานจึงต้องต่ำมากๆ

บริษัทได้ว่าจ้างช่างเทคนิคทั่วไปจำนวนมากในทีมบำรุงรักษาของบริษัท เพื่อดำเนินการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน แก้ไขปัญหาและซ่อมแซมข้อบกพร่อง หรือแม้แต่ดำเนินการวิเคราะห์หลังเกิดเหตุขัดข้องเพื่อเรียนรู้วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต นอกจากช่างเทคนิคทั่วไปแล้ว บริษัทยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ห้ารายที่ทำงานในทุกๆ ส่วน โดยหลักแล้ว พวกเขามีหน้าที่แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระบบควบคุมที่มีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์วัดน้ำหนักโหลด และไดรฟ์แบบปรับความเร็วได้ที่ใช้เพื่อให้ลิฟต์ทำงานได้อย่างราบรื่น

ความง่ายและความยากในการบำรุงรักษาลิฟต์

มอเตอร์ไดรฟ์ในลิฟต์ยังมีชื่อเรียกอื่นว่า ไดรฟ์ที่แบบปรับความถี่ได้ (VFD) ตัวแปลงความถี่ หรือไดรฟ์ที่ปรับความเร็วได้ (ASD) อุปกรณ์นี้จะแปลงแรงดันไฟฟ้าคงที่จากแหล่งจ่ายไฟ AC หลักไปเป็นแรงดันไฟฟ้าที่แปรผันตามทอร์กและความเร็วของมอเตอร์ควบคุม ซึ่งเหมาะสำหรับมอเตอร์ที่ขับเคลื่อนระบบสายเคเบิลหรือสายพานที่เคลื่อนลิฟต์ขึ้นและลง

เทคโนโลยีเพลาลิฟต์

ช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ผู้ชำนาญการรายหนึ่งของบริษัทผู้ผลิตลิฟต์ได้กล่าวว่าโดยปกติ เขาใช้ เครื่องมือทดสอบ Fluke ScopeMeter® (125B และ 190) เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับไดรฟ์ แต่เมื่อไม่นานมานี้ เขาเปลี่ยนมาใช้เครื่องวิเคราะห์มอเตอร์ไดรฟ์ Fluke MDA-550 แทน ช่างเทคนิครายนี้มีทักษะชำนาญการสูง โดยมีประสบการณ์ในการทำงานกว่า 25 ปีทั้งทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมทางทหาร และได้รับปริญญาจากสถาบันเทคนิค

เขากล่าวว่าเครื่องวิเคราะห์มอเตอร์ไดรฟ์รุ่นใหม่นั้นเหมาะสำหรับทั้งช่างเทคนิคที่ชำนาญการสูงและมือใหม่

"เครื่องมือนี้เหมาะสำหรับทุกๆ คนเนื่องจากมีการแนะนำ โดยอินเทอร์เฟสจะแนะนำคุณตลอดกระบวนการวัด" ช่างเทคนิคระบบอิเล็กทรอนิกส์ของลิฟต์รายนี้กล่าว

แก้ไขปัญหาได้ง่ายๆ

MDA ผสมผสานออสซิโลสโคปแบบพกพากับมัลติมิเตอร์ อีกทั้งยังมีแผนภาพที่อ่านง่ายและคำแนะนำทีละขั้นตอนตลอดการทดสอบ

“ข้อดีเกี่ยวกับ MDA คือคุณมีแผนภาพแสดงวิธีการตั้งค่าเครื่องมือ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับช่างเทคนิคที่มีความชำนาญมาก เนื่องจากช่วยประหยัดเวลาในการทดสอบแต่ละครั้ง” เขากล่าว “ส่วนช่างเทคนิคมือใหม่ก็สามารถตรวจสอบการตั้งค่าก่อนเริ่มได้ และทำการทดสอบทีละขั้นตอน”

MDA มีคำแนะนำสำหรับการทดสอบสำคัญทุกประเภท รวมถึง:

  • อินพุตของไดรฟ์
  • บัส DC­­—ริปเปิล
  • เอาท์พุตของไดรฟ์
  • อินพุตของมอเตอร์
  • แรงดันไฟฟ้าของเพลามอเตอร์

“MDA มีฟังก์ชันเหล่านี้ทุกอย่าง เป็นการอัปเกรดที่ยอดเยี่ยม ซึ่งช่วยให้งานของผมเรียบง่ายขึ้น ผมสามารถทำการทดสอบแบบเดิมทุกประเภทที่ผมสามารถทำได้ด้วย ScopeMeter แต่สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เพียงแค่เลือกการทดสอบและการตั้งค่า คุณก็พร้อมที่จะเริ่มใช้งาน”

เครื่องวิเคราะห์มอเตอร์ไดรฟ์ของ Fluke จะแนะนำตลอดการทดสอบเหล่านี้ และทำการคำนวณที่จำเป็นหลายรายการเพื่อให้คุณมั่นใจกับผลลัพธ์ที่ได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถบันทึกข้อมูลเป็นรายงานได้ที่แทบทุกจุดทดสอบ คุณจึงมีเอกสารข้อมูลสำหรับอัปโหลดเข้าระบบการจัดการการบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS) หรือส่งข้อมูลให้กับเพื่อนร่วมงานหรือผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา

“แม้ว่าผมจะสามารถทดสอบได้ด้วยออสซิโลสโคปโดยใช้การตั้งค่าแบบกำหนดเอง แต่การทดสอบโดย MDA ก็มีการตั้งค่าให้ทั้งหมดและพร้อมใช้งานได้เลย ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาได้มาก หากคุณต้องทำการวัดหลายครั้งในแต่ละวัน”

F-MDA-550-01a

การยืนยันข้อสงสัยและการแก้ไขปัญหา

จากการเรียกเข้าซ่อมบำรุงครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ช่างเทคนิคอิเล็กทรอนิกส์ต้องแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับลิฟต์ขนาดใหญ่ในโรงพยาบาล “เนื่องจากลิฟต์ผ่านการใช้งานมากว่า 14 ปี มอเตอร์ไดรฟ์จึงแสดงริปเปิลในส่วนโหลด โดยเป็นริปเปิลของส่วนเชื่อมต่อ DC เราคิดว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากอายุของตัวเก็บประจุ เนื่องจากตัวเก็บประจุมักจะแห้งขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเก่าขึ้น

“สิ่งนี้เป็นปัญหา ลิฟต์จะต้องการกระแสมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากตัวเก็บประจุจะต้องการกระแสมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ตัวเก็บประจุด้อยลง และทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน

หลังจากใช้ MDA ผมสามารถทำการทดสอบบัส DC และริปเปิล DC ได้ และสามารถทำการทดสอบได้อย่างรวดเร็วและยืนยันผลตามที่คาดไว้” เขากล่าว

ท้ายที่สุด พวกเขาต้องเปลี่ยนตัวเก็บประจุทั้งชุดเพื่อแก้ไขปัญหา

“แม้ว่าผมจะสามารถทดสอบได้ด้วยออสซิโลสโคปโดยใช้การตั้งค่าแบบกำหนดเอง แต่การทดสอบโดย MDA ก็มีการตั้งค่าให้ทั้งหมดและพร้อมใช้งานได้เลย ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาได้มาก หากคุณต้องทำการวัดหลายครั้งในแต่ละวัน”

คุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่

กรอกแบบฟอร์มขอรับการสาธิตสั้นๆ ของเรา แล้วเราจะติดต่อกลับไปหาคุณเพื่อกำหนดช่วงเวลาจัดการสาธิตจากวิศวกร Fluke ที่มีคุณสมบัติให้กับคุณโดยเฉพาะ คุณจะได้รับการสาธิตอุปกรณ์ต่อหน้าในที่ทำงานของคุณ โดยมุ่งเน้นไปที่การวัดที่คุณต้องการ คุณจะได้เห็นว่าเครื่องมือของเราใช้งานง่ายแค่ไหน และได้รับการฝึกอบรมและคำแนะนำทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นถ้าคุณจะซื้อ คุณจึงแน่ใจได้ว่าคุณจะเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับคุณและได้รับประโยชน์สูงสุดจากอุปกรณ์นั้น!